คุณเคยตั้งเป้าหมายชีวิตของตัวเองกันบ้างไหมครับ? ผมเชื่อว่าอย่างน้อยๆตอนเด็กๆก็ต้องมีบ้างแหละ ที่คุณคิดว่าอยากเป็นหมอ นักดนตรี เจ้าของธุรกิจ นักกีฬา หรืออื่นๆ

จำได้ไหมว่าตอนเด็กนั้นคุณเคยอยากทำอาชีพอะไร มีความฝันอยากจะทำอะไร ? สำหรับผมแล้วคำว่าเป้าหมายของชีวิตนั้นหมายถึงสิ่งที่คุณอยากจะให้เกิดขึ้นในอนาคต และมีความต้องการที่จะไปถึงจุดนั้น เพื่อความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต

 

การตั้งเป้าหมายของชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องของการมโนเฟ้อฝัน แต่เป็นเรื่องของการกำหนดทิศทางของชีวิตตัวเองว่าสุดท้ายแล้ว เป้าหมายปลายทางของการเดินทางนี้ไปจบลงที่ไหน และ เราจะต้องเดินผ่านอะไรบ้าง

“แม้แต่การทำธุรกิจก็ยังต้องมีการสร้าง Vision, Mission, และ Goal เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางความสำเร็จของบริษัท ชีวิตก็(ควรจะเป็น)เช่นเดียวกัน ที่ต้องการมีการกำหนดจุดที่เรียกว่าความสำเร็จ”

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ลองหยุดถามตัวเองดูว่า ตอนนี้คุณเองมองเห็นของการตั้งเป้าหมายชีวิตของตัวเองบ้างแล้วหรือยังครับ?

.

.

.

หลายคนอาจจะมองไม่เห็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในการตั้งเป้าหมายของชีวิตตัวเอง แต่การได้ลองมองตัวเอง และย้อนถามตัวเองว่าเป้าหมายชีวิตของตัวเองนั้นคืออะไร จะทำให้เรารู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น และอีกจุดสำคัญที่เป้าหมายของชีวิตจะเปลี่ยนคุณ หากคุณมีความมุ่งมั่นที่จะเดินไปตามเป้าหมายของชีวิตอย่างจริงจัง ก็คือ “ทิศทางของการดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนไปตามเป้าหมายของชีวิตด้วยเช่นเดียวกัน”

 

“ใครก็ทำได้สร้างเป้าหมายให้ชีวิตตัวเองเพียง 3 ขั้นตอน

 

  1. กำหนดเป้าหมาย:
    คุณต้องการจะทำอะไร มีความฝันอยากมีอะไร ?
  • อาจจะเป็นคำถามสุดเพ้อฝันเลยก็ว่าได้นะครับ แต่นี่คือจุดที่ยากมากในการค้นหาและถามตัวเองว่าคุณมีความฝันและต้องการอยากจะทำ อยากจะมีอะไร ผมแนะนำว่าอยากให้คุณนั้นถามตัวเอง ย้ำถามตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบร้อน ใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้มากที่สุดก็จะตอบได้ครับ
  • แน่นอนว่าความต้องการของคุณนั้นย่อมไม่ได้อีกแค่ข้อเดียว ลองรวบรวมสิ่งที่คิดได้เขียนลงไปในกระดาษ และลองจัดกลุ่มความต้องการดูว่าแยกออกเป็นอะไรได้บ้าง เช่น ความต้องการในหน้าที่การงาน, ความต้องการในชีวิตครอบครัว, ความสุขส่วนตัวอื่นๆ
  • ใช้เวลาอยู่กับตัวเองค้นหาสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดในชีวิตว่าคืออะไร เขียนความต้องการสูงสุดของคุณเอาไว้

.

  1. กำหนดเส้นทางในการเดินหน้าหาเป้าหมายชีวิต
    ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • ในข้อนี้ ขอแนะนำว่าให้หยิบกระดาษแผ่นใหม่ขึ้นมา ลองเขียนเส้นตรงสักหนึ่งเส้น และเขียนเป้าหมายสูงสุดเอาที่ปลายเส้นตรงเส้นนั้น และจินตนาการว่าเส้นตรงเส้นนั้นเป็นถนน เป้าหมายอีกฝั่งเป็นเส้นชัย
  • แน่นอนว่าระหว่างทางที่จะเดินทางไปสู่เส้นชัยนั้น จะต้องผ่านอีกหลายช่วง ซึ่งหมายความว่า คุณเองสามารถสร้างเป้าหมายชีวิตย่อยๆได้อีกหลายจุด เพื่อเป็นการจุด Checkpoint ให้เข้าใกล้ความสำเร็จที่เส้นชัยมากยิ่งขึ้น
  • วางแผนวิธีการที่จะไปสู่ความสำเร็จ สร้าง Mission ให้กับตัวเองว่าทำอย่างไร มีเวลาแค่ไหน กำหนดสิ่งเหล่านี้เพื่อวัดผล ประเมินความสำเร็จในเป้าหมายของคุณเอง

.

  1. ลงมือทำเป็นจริงจัง
  • ผมคิดว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำได้ยากที่สุด หากปราศจากความตั้งใจจริง เพราะการเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนใหม่ ตามแผนที่วางไว้นั้น อาจจะทำได้ยากในช่วงแรก ซึ่งส่วนนี้จะต้องอาศัยความอดทนและเวลาเป็นเครื่องช่วยพิสูจน์ว่าคุณเองจะสามารถบรรลุเป้าหมายของชีวิตได้หรือไม่

 

“คุณหละ เป้าหมายชีวิตของคุณคืออะไร และ มีคำถามอะไรเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายชีวิตมั้ยครับ?

“ในปัจจุบันกระแสของสังคมกำลังเปลี่ยนไป เด็กยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับโลกของธุรกิจกันมากขึ้น และหากย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่แล้วหลังจากที่นักศึกษาเรียนจบ ก็ต่างมุ่งหน้าหาสถานที่ทำงานที่ตรงสายที่เรียน หรือที่ตัวเองสนใจ แต่ในปัจจุบันกลับตรงกันข้าม ! นักศึกษาส่วนมากเลือกที่จะมุ่งหน้าประกอบธุรกิจส่วนตัว บางคนเริ่มต้นกันตั้งแต่ยังเรียนอยู่เสียด้วยซ้ำ”

 

 

หลายปัจจัย หลายองค์ประกอบ ที่ทำให้หลายคนต่างมีความมั่นใจว่าตัวเองนั้นสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างของหลายคนที่ประสบความสำเร็จจนเป็น “อายุน้อยร้อยล้าน” หรือกระแสของสังคมที่ต่างปลูกฝังความเชื่อใหม่ว่า “ลาออกซะ หากอยากรวย” หรือ “ประกอบธุรกิจส่วนตัวดีกว่าเป็นลูกจ้าง”

สำหรับตัวผมเองนั้นก็ไม่ได้ปฏิเสธแนวคิดเหล่านี้เหล่านี้นะครับว่าเด็กอายุน้อย หรือเด็กจบใหม่ที่กำลังร้อนวิชาจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางธุรกิจได้ และในปัจจุบันมีตัวเลขของผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็อย่าลืมว่าในเวลาเดียวกันก็มีผู้ประกอบที่ล้มเหลว และต้องปิดกิจการลงไปจำนวนมากเช่นเดียวกันครับ

หลังจากที่ทำธุรกิจส่วนตัวและทำงานประจำมา ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ซึ่งปกติส่วนใหญ่ ผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับนักศึกษาที่จบใหม่ แล้วคิดเสมอว่า “ไม่อยากเป็นลูกจ้างเลยซักครั้งในชีวิต แต่อยากเริ่มธุรกิจของตัวเองเลย

อย่าพึ่งคิดว่าผมคิดต่าง เห็นต่าง เป็นคนหัวโบราณเลยนะครับ แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจเหตุผลของผมเสียก่อนว่ามันเป็นจริงหรือไม่

 

5 เหตุผลที่ผมอยากให้ทำงานประจำก่อน ธุรกิจส่วนตัว มีดังนี้:

 

  1. Connection ในการทำธุรกิจ

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโลกของธุรกิจนั้น หนึ่งองค์กรหรือหนึ่งธุรกิจจะไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้เพียงลำพัง แต่จะต้องอาศัยอีกหลายส่วนเชื่อมโยงกัน การสร้าง Connection เป็นสิ่งสำคัญมาก

ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆ เช่น “หากคุณเองเปิดบริษัทรับเขียนแบบหรือออกแบบบ้าน แต่หากเราไม่มีคนรู้จักหรือไม่มีบริษัทรับสร้างบ้าน คอยส่งงานมาให้คุณออกแบบ หรือไม่มีนายหน้าส่งงานมาให้คุณออกแบบ สุดท้ายธุรกิจของคุณก็จะต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีลูกค้า”

หรือแม้กระทั่งการที่เราอาจจะได้รับมอบหมายงานในสิ่งที่เราไม่ถนัดหรือไม่เคยทำ เช่น เราเขียนแบบแปลนบ้านเป็น แต่ออกแบบภายในไม่เป็น ถ้าเราไม่มี Connection เราอาจจะไม่มีที่ปรึกษาหรือคนที่เราไว้วางใจและสามารถส่งงาน Outsource ต่อไปได้ อาจจะเป็นผลทำให้ลูกค้าไม่เชื่อใจความสามารถที่ไม่ครบวงจร ก็เป็นได้”

Connection ของธุรกิจในวงการเดียวกันนั้นล้วนแล้วแต่มาจากการทำงานทั้งนั้นครับ!

การที่เราไม่มีประสบการณ์ หรือ การไม่มี Connection เชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นั้นเป็นจุดอ่อนของคนที่ทำงานมาได้ไม่มากเพียงพอ

ขอวกกลับมาที่ประเด็นของการประกอบธุรกิจส่วนตัว หากคุณกำลังจะเรียนจบและอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง!..  ดีเลยครับ อย่ารอช้าลองหางานให้ตรงสายกับธุรกิจที่อยากจะทำให้อนาคต สร้างProfile สร้างชื่อเสียง  สร้าง Connection ให้กับตัวเอง ก่อนที่จะถึงเวลาเหมาะสมออกไปประกอบธุรกิจของตัวเอง หรือแม้แต่การลาออกมาทำงาน Freelance ก็ตาม

 

  1. การรู้จักบริหารทีมงาน

อีกหนึ่งหลุมพรางที่เหล่าผู้ประกอบการมักจะตกม้าตายกับมากปัจจัยหนึ่งเลยครับคือ “การบริหารงานเป็นทีม”

เขาว่ากันว่า หนึ่งใน skill ที่ยากที่สุดในโลกธุรกิจ คือ การบริหารคน เราลองไปถามคนรอบๆตัวเราที่เขาทำธุรกิจมานักต่อนัก ผมมั่นใจว่าเกือบทุกคนจะบอกเสมอว่าการทำงานกับคนนั้นยากที่สุด

การทำเว็บไซต์ให้ดูดี, จัด Office ให้สวย, หรือ การจ้างพนักงานเพิ่มนั้นไม่ยากมากเท่ากับการ ทำให้คนนั้นๆรักองค์กรของเราและมีเป้าหมายเดียวกับเราไปนานๆ

ลองนึกดูครับว่า แต่ละคนเกิดมา ถูกเลี้ยงดูไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ไม่เท่ากัน มีความคิดที่แตกต่างกัน และ ความสามารถในการวิเคราะห์หรือควบคุมอารมณ์ตัวเองก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่คนอื่นเขาจะคิดดี ทุ่มเทกับงาน และอยากสละทุกอย่างเพื่อบริษัทของคุณเหมือนแบบที่คุณทำ

หัวใจสำคัญของผู้นำก็คือ ความสามารถในการดูแล วางแผนการทำงานของทีม เข้าใจ แก้ไขปัญหา และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกทีมได้

ในจุดนี้ผมคิดว่าผู้นำจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานพอสมควรเลยครับ ที่จะสามารถดูแลและคอยแก้ไขปัญหาให้กับลูกทีมได้

“หากทุกคนยังใหม่ ผู้นำก็พึ่งเรียนจบ ลูกทีมก็พึ่งเรียนจบ พอเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่เหมือนในตำรา หรือตอนฝึกงาน ก็อาจจะมืดแปดด้านกันได้เลยทีเดียว”

ถ้ามีคนถามว่า “งั้นต้องทำงานกี่ปีหละถึงจะออกมาทำงานของตัวเองได้”

ผมขอตอบว่า “ประมาณซัก 2ปีเป็นอย่างน้อย +/- จะมากกว่าหรือน้อยกว่า อยู่ที่ความพร้อมหลังจากเรียนรู้จากนั้นๆเลย และ ต้องเลือกบริษัทและตำแหน่งที่เราสามารถแสดงศักยภาพและเติบโต เพื่อมีทีมงานให้สามารถทดลองดูแลได้เร็วก็จะยิ่งดี”

 

  1. ระบบ Seniority (ระดับความอาวุโส) ในไทย

หากเรามีอายุ และประสบการณ์ทำงานที่มากขึ้นไปเรื่อยๆ จะเป็นการง่ายมากกว่าที่จะสร้าง Connection ที่มีคุณภาพใหม่ๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก

ประเทศไทยหรือประเทศในโซนเอเชียของเราส่วนใหญ่ยังอยู่กับ “การเคารพให้เกียรติผู้อาวุโส” ไม่เว้นแม้แต่กับโลกของธุรกิจ ซึ่งคนที่มีชื่อเสียงและอาวุโสในวงการธุรกิจก็จะได้รับการยอมรับมากกว่า

รวมไปถึงเรื่องสำคัญในการบริหารคนด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ คนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังยึดติดกับเรื่องของอายุของคนมากกว่าความสามารถ ซึ่งก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเป็นวัฒนธรรมและเป็นสิ่งที่พ่อแม่ของเราสั่งสอนกันมาตลอด

ซึ่งข้อดีของเรื่องระบบ seniority น่าจะเป็นเรื่องการความอ่อนโยน ความเคารพ การให้เกียรติต่อบุคคลอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยได้รับฉายาว่า Land of Smile (เมืองแห่งรอยยิ้ม) ซึ่งพื้นฐานความคิดแบบนี้ ต่างชาติส่วนใหญ่อาจจะอิจฉาเรากันมากๆเลยด้วยซ้ำ

แต่ถ้าพูดถึงเรื่องงานหรือธุรกิจ ระบบSeniority ผมจะขอพูดถึงเรื่องเดียว คือการคุมทีมงาน ซึ่งถ้าเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือทำงานได้เพียงไม่นาน อายุของเราก็อาจจะไม่มากพอนัก ที่จะไปสั่งพนักงานบางคนที่อาจจะมีความคิดในใจเช่นว่า “เราอายุมากกว่าคุณ คุณมาชี้สั่งเราแบบนั้นได้ยังไง?” ซึ่งปัญหาที่อาจจะตามมาได้นั้นก็อาจจะเป็นเรื่องของการลาออก แล้วเราต้องหาคนใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าคนใหม่จะเป็นแบบนี้อีกหรือปล่าวเลย

 

  1. การรู้จักบริหารเวลา

การได้ทำงานกับองค์กร และ มีหัวหน้าที่สามารถการตั้งเป้าหมาย ต่อวัน ต่อเดือนได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราได้ฝึกฝนความสามารถในการบริหารเวลาของเราได้ ในหลายๆด้าน

ซึ่งจะแตกต่างกับอาชีพ Freelance ที่จะต้องคอยควบคุมเวลาของตัวเอง อาจจะทำให้บางคนเสียการควบคุมเรื่องการเวลาการทำงาน อาจทำให้เราเป็นคนที่จัดการเวลาตัวเองได้ไม่เหมาะสมในโลกธุรกิจด้วยเช่นกัน

หรือแม้การทั่งการเป็นหัวหน้าคน เราจะต้องจัดการเวลาของทีมงานและงานที่สั่งไปด้วยเช่นกัน ถ้าเราไม่มีประสบการณ์เหล่านี้แล้ว อาจจะทำให้จัดการเวลาของคนทั้งทีมล้อเหลวก็เป็นได้

สำหรับธุรกิจแล้วเรื่องของ “เวลา” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างที่ผมได้กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า การทำธุรกิจที่ดีไม่ใช่การดำเนินกิจการไปเพียงคนเดียว แต่ยังมีอีกหลายคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง”

และหากพลาดในเรื่องของเวลา ทุกอย่างอาจจะพังลงเอาได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในเรื่องของเนื้องานเพียงอย่างเดียว แต่เวลายังเป็นในเรื่องของความเชื่อมั่นในตัวธุรกิจและตัวคุณเองอีกด้วย

ซึ่งจุดนี้ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบของ Freelance ก็ดี หรือจะเป็นผู้ประกอบก็ดี เรื่องของการบริหารเวลาให้ลงตัวคือหัวใจสำคัญมากเลยทีเดียว

 

  1. เงินทุน และ งบประมาณ

สำหรับข้อนี้ บางคนก็ไม่มีปัญหาเลยเนื่องจากมีเงินเก็บและทรัพทย์สินเยอะอยู่แล้ว หรืออาจจะมีพ่อแม่สนับสนุนเรื่องเงินมาโดยตลอด

แต่สำหรับหลายๆคน ข้อนี้น่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินต่อของธุรกิจก็เป็นได้

เงินทุนสำหรับการจ้างพนักงานที่เก่งๆมาร่วมงาน, ค่าเช่าออฟฟิส, พื้นที่ขายของ, ค่าใช้จ่ายในการ outsource, ค่าสต๊อคสินค้า, และอื่นๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องมีเงินเย็นเผื่อเหลือไว้อย่างน้อยๆ 3-6เดือน เพื่อความปลอดภัยมั่นคงต่อธุรกิจกันเลยทีเดียว

 

อย่างที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผมอาจจะยังไม่สนับสนุนให้เหล่านักศึกษาจบใหม่หรือเพิ่งได้เข้าทำงานที่ยังไม่ได้สั่งสมประสบการณ์งานจริงมามากเพียงพอ ลาออกมาทำธุรกิจของตัวเอง

เพียงแต่อยากจะให้แง่คิดว่า ในโลกของธุรกิจ มองดูจากตำรา หรือจากผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้วอาจจะสวยหรู แต่ในโลกของความจริงแล้ว โลกของธุรกิจเต็มไปด้วยหลุมพรางทั้งสิ้น

หากยังไม่พร้อม หากยังไม่มีประสบการณ์ก็จะติดกับดัก ตกหลุมพราง ล้มเหลวเอาได้ง่ายๆครับ

แต่ก็แน่นอน ถ้าคุณยืนยันว่ามีไฟ อยากทำธุรกิจนึงมากๆ และต้องทำตอนนี้เลย ก็ลองคำนวนโอกาสความเสี่ยง และวางแผนธุรกิจดีๆ ถ้าล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้น และเดินต่อให้ได้

ยังไงก็ตาม ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับทุกอย่างที่จะทำนะครับ

 

ถ้าคุณคิดว่ามีเหตุผลข้ออื่นๆอีก Comment ใต้โพสนี้เลย?