มักได้ยินได้กันอยู่บ่อยครั้งเลยนะครับกับคำว่า Startup และ SMEs ทั้งในข่าวและจากรายงาน  สำหรับธุรกิจประเภท Startup ในประเทศไทยตอนนี้ กำลังมาแรง และน่าจับตามองมากเลยทีเดียว

“และหลายคนมักจะสับสนและเข้าใจว่า Startup และธุรกิจ SMEs คือธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่จริงๆแล้วอย่า พึ่งเข้าใจผิดนะครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมเหมือนกันแต่ถือว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลย”

 

 

            ก่อนอื่นจะขอพามาทำความรู้จักกับธุรกิจประเภท SMEs ที่หลายคนรู้จักกันดีเสียก่อน เพราะว่าธุรกิจมากกว่า 95% ของธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทยของเรานั้น (อ้างอิงข้อมูลจาก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.) เป็นธุรกิจ SMEs กันทั้งสิ้น เรียกได้ว่าครอบคลุมไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การบริการ หรือแม้แต่ธุรกิจประเภทการผลิต โดยคำว่า SME นั้นก็มาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นั้นเอง โดยผมสามารถแยกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ก็คือ ธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน และมีทุนจดทะเบียน น้อยกว่า 20 ล้าน และ ธุรกิจขนาดกลาง ที่มีจำนวนคนงานประมาณ 50-200 คน และมีทุนจดทะเบียน ประมาณ 20-200 ล้านบาท

 

 

และอีกประเภทหนึ่งก็คือ ธุรกิจ Startup ที่ช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ได้ยินกันบ่อยมาก และมีโมเดลจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจประเภทนี้ให้เห็นกันอยู่หลายท่าน จึงเป็นแรงจูงใจอย่างดีสำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจ

“คำว่า Startup หมายถึงการเริ่มต้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของธุรกิจครับ แต่การเริ่มต้นแบบ Startup นั้นจะเป็นการเริ่มต้นเป็นก้าวกระโดด”

โดยธุรกิจ Startup นั้นจะเน้นไปที่การใช้ไอเดียสร้างรายได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภท SMEs

3 ข้อแตกต่างระหว่าง SMEs และ Startup เปรียบเทียบกันจุดต่อจุด

 

 

  1. ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือโมเดลในการทำธุรกิจ ที่เหล่านักธุรกิจ Startup มักจะใช้วิธีการนำไอเดียมาปรับใช้กับโมเดลธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นธุรกิจในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบสนองและแก้ปัญหา เติมเต็มความต้องการในชีวิตประจำได้อย่างเต็มที่ “และแน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจ Startup บนอินเตอร์เน็ตจะสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ได้ จุดนี้อาจจะแตกต่างกันกับธุรกิจประเภท SMEs ซึ่งอาจจะต้องมีร้าน มีโรงงาน ในการดำเนินธุรกิจ”
  2. Startup ไม่จำเป็นต้องมีพนักงาน หรือผู้ร่วมงานมาก ส่วนมากจะดำเนินงานเพียง 2-3 คนก็เพียงพอ เพราะเป็นการทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นการลดการสิ้นเปลืองบุคลากรได้อย่างดี แต่สำหรับ SMEs แล้วนั้นจำเป็นที่ต้องมีหลายฝ่ายในการดูแลไม่ว่าจะเป็นส่วนงานขาย งานออฟฟิต งานผลิต และงานบริการ
  3. เรื่องของการลงทุน จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนมากที่สุด เพราะการทำธุรกิจประเภท Startup นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนเอง แต่เป็นการนำเสนอไอเดียเพื่อเรียกนักลงทุนมาร่วมลงทุน แต่แตกต่างกับ SMEs ซึ่งส่วนมากจะต้องใช้ทุนส่วนตัวในการสร้างธุรกิจเป็นหลัก

“จากความแตกต่างของธุรกิจทั้งสองประเภทนี้แล้วนั้น หลายคนอาจจะมองว่าธุรกิจประเภท Startup นั้นมีแต่ข้อดี และน่าจะทำรายได้ได้มากกว่า SMEs  แต่สำหรับส่วนตัวผมคิดว่าธุรกิจทั้งสองประเภทก็มีความยาก และจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ความถนัดและช่องทาง โอกาสในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการมากกว่าครับ”

 

 

คุณเคยตั้งเป้าหมายชีวิตของตัวเองกันบ้างไหมครับ? ผมเชื่อว่าอย่างน้อยๆตอนเด็กๆก็ต้องมีบ้างแหละ ที่คุณคิดว่าอยากเป็นหมอ นักดนตรี เจ้าของธุรกิจ นักกีฬา หรืออื่นๆ

จำได้ไหมว่าตอนเด็กนั้นคุณเคยอยากทำอาชีพอะไร มีความฝันอยากจะทำอะไร ? สำหรับผมแล้วคำว่าเป้าหมายของชีวิตนั้นหมายถึงสิ่งที่คุณอยากจะให้เกิดขึ้นในอนาคต และมีความต้องการที่จะไปถึงจุดนั้น เพื่อความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต

 

การตั้งเป้าหมายของชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องของการมโนเฟ้อฝัน แต่เป็นเรื่องของการกำหนดทิศทางของชีวิตตัวเองว่าสุดท้ายแล้ว เป้าหมายปลายทางของการเดินทางนี้ไปจบลงที่ไหน และ เราจะต้องเดินผ่านอะไรบ้าง

“แม้แต่การทำธุรกิจก็ยังต้องมีการสร้าง Vision, Mission, และ Goal เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางความสำเร็จของบริษัท ชีวิตก็(ควรจะเป็น)เช่นเดียวกัน ที่ต้องการมีการกำหนดจุดที่เรียกว่าความสำเร็จ”

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ลองหยุดถามตัวเองดูว่า ตอนนี้คุณเองมองเห็นของการตั้งเป้าหมายชีวิตของตัวเองบ้างแล้วหรือยังครับ?

.

.

.

หลายคนอาจจะมองไม่เห็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในการตั้งเป้าหมายของชีวิตตัวเอง แต่การได้ลองมองตัวเอง และย้อนถามตัวเองว่าเป้าหมายชีวิตของตัวเองนั้นคืออะไร จะทำให้เรารู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น และอีกจุดสำคัญที่เป้าหมายของชีวิตจะเปลี่ยนคุณ หากคุณมีความมุ่งมั่นที่จะเดินไปตามเป้าหมายของชีวิตอย่างจริงจัง ก็คือ “ทิศทางของการดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนไปตามเป้าหมายของชีวิตด้วยเช่นเดียวกัน”

 

“ใครก็ทำได้สร้างเป้าหมายให้ชีวิตตัวเองเพียง 3 ขั้นตอน

 

  1. กำหนดเป้าหมาย:
    คุณต้องการจะทำอะไร มีความฝันอยากมีอะไร ?
  • อาจจะเป็นคำถามสุดเพ้อฝันเลยก็ว่าได้นะครับ แต่นี่คือจุดที่ยากมากในการค้นหาและถามตัวเองว่าคุณมีความฝันและต้องการอยากจะทำ อยากจะมีอะไร ผมแนะนำว่าอยากให้คุณนั้นถามตัวเอง ย้ำถามตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบร้อน ใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้มากที่สุดก็จะตอบได้ครับ
  • แน่นอนว่าความต้องการของคุณนั้นย่อมไม่ได้อีกแค่ข้อเดียว ลองรวบรวมสิ่งที่คิดได้เขียนลงไปในกระดาษ และลองจัดกลุ่มความต้องการดูว่าแยกออกเป็นอะไรได้บ้าง เช่น ความต้องการในหน้าที่การงาน, ความต้องการในชีวิตครอบครัว, ความสุขส่วนตัวอื่นๆ
  • ใช้เวลาอยู่กับตัวเองค้นหาสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดในชีวิตว่าคืออะไร เขียนความต้องการสูงสุดของคุณเอาไว้

.

  1. กำหนดเส้นทางในการเดินหน้าหาเป้าหมายชีวิต
    ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • ในข้อนี้ ขอแนะนำว่าให้หยิบกระดาษแผ่นใหม่ขึ้นมา ลองเขียนเส้นตรงสักหนึ่งเส้น และเขียนเป้าหมายสูงสุดเอาที่ปลายเส้นตรงเส้นนั้น และจินตนาการว่าเส้นตรงเส้นนั้นเป็นถนน เป้าหมายอีกฝั่งเป็นเส้นชัย
  • แน่นอนว่าระหว่างทางที่จะเดินทางไปสู่เส้นชัยนั้น จะต้องผ่านอีกหลายช่วง ซึ่งหมายความว่า คุณเองสามารถสร้างเป้าหมายชีวิตย่อยๆได้อีกหลายจุด เพื่อเป็นการจุด Checkpoint ให้เข้าใกล้ความสำเร็จที่เส้นชัยมากยิ่งขึ้น
  • วางแผนวิธีการที่จะไปสู่ความสำเร็จ สร้าง Mission ให้กับตัวเองว่าทำอย่างไร มีเวลาแค่ไหน กำหนดสิ่งเหล่านี้เพื่อวัดผล ประเมินความสำเร็จในเป้าหมายของคุณเอง

.

  1. ลงมือทำเป็นจริงจัง
  • ผมคิดว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำได้ยากที่สุด หากปราศจากความตั้งใจจริง เพราะการเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนใหม่ ตามแผนที่วางไว้นั้น อาจจะทำได้ยากในช่วงแรก ซึ่งส่วนนี้จะต้องอาศัยความอดทนและเวลาเป็นเครื่องช่วยพิสูจน์ว่าคุณเองจะสามารถบรรลุเป้าหมายของชีวิตได้หรือไม่

 

“คุณหละ เป้าหมายชีวิตของคุณคืออะไร และ มีคำถามอะไรเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายชีวิตมั้ยครับ?

“ในปัจจุบันกระแสของสังคมกำลังเปลี่ยนไป เด็กยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับโลกของธุรกิจกันมากขึ้น และหากย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่แล้วหลังจากที่นักศึกษาเรียนจบ ก็ต่างมุ่งหน้าหาสถานที่ทำงานที่ตรงสายที่เรียน หรือที่ตัวเองสนใจ แต่ในปัจจุบันกลับตรงกันข้าม ! นักศึกษาส่วนมากเลือกที่จะมุ่งหน้าประกอบธุรกิจส่วนตัว บางคนเริ่มต้นกันตั้งแต่ยังเรียนอยู่เสียด้วยซ้ำ”

 

 

หลายปัจจัย หลายองค์ประกอบ ที่ทำให้หลายคนต่างมีความมั่นใจว่าตัวเองนั้นสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างของหลายคนที่ประสบความสำเร็จจนเป็น “อายุน้อยร้อยล้าน” หรือกระแสของสังคมที่ต่างปลูกฝังความเชื่อใหม่ว่า “ลาออกซะ หากอยากรวย” หรือ “ประกอบธุรกิจส่วนตัวดีกว่าเป็นลูกจ้าง”

สำหรับตัวผมเองนั้นก็ไม่ได้ปฏิเสธแนวคิดเหล่านี้เหล่านี้นะครับว่าเด็กอายุน้อย หรือเด็กจบใหม่ที่กำลังร้อนวิชาจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางธุรกิจได้ และในปัจจุบันมีตัวเลขของผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็อย่าลืมว่าในเวลาเดียวกันก็มีผู้ประกอบที่ล้มเหลว และต้องปิดกิจการลงไปจำนวนมากเช่นเดียวกันครับ

หลังจากที่ทำธุรกิจส่วนตัวและทำงานประจำมา ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ซึ่งปกติส่วนใหญ่ ผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับนักศึกษาที่จบใหม่ แล้วคิดเสมอว่า “ไม่อยากเป็นลูกจ้างเลยซักครั้งในชีวิต แต่อยากเริ่มธุรกิจของตัวเองเลย

อย่าพึ่งคิดว่าผมคิดต่าง เห็นต่าง เป็นคนหัวโบราณเลยนะครับ แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจเหตุผลของผมเสียก่อนว่ามันเป็นจริงหรือไม่

 

5 เหตุผลที่ผมอยากให้ทำงานประจำก่อน ธุรกิจส่วนตัว มีดังนี้:

 

  1. Connection ในการทำธุรกิจ

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโลกของธุรกิจนั้น หนึ่งองค์กรหรือหนึ่งธุรกิจจะไม่สามารถดำเนินกิจการไปได้เพียงลำพัง แต่จะต้องอาศัยอีกหลายส่วนเชื่อมโยงกัน การสร้าง Connection เป็นสิ่งสำคัญมาก

ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆ เช่น “หากคุณเองเปิดบริษัทรับเขียนแบบหรือออกแบบบ้าน แต่หากเราไม่มีคนรู้จักหรือไม่มีบริษัทรับสร้างบ้าน คอยส่งงานมาให้คุณออกแบบ หรือไม่มีนายหน้าส่งงานมาให้คุณออกแบบ สุดท้ายธุรกิจของคุณก็จะต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีลูกค้า”

หรือแม้กระทั่งการที่เราอาจจะได้รับมอบหมายงานในสิ่งที่เราไม่ถนัดหรือไม่เคยทำ เช่น เราเขียนแบบแปลนบ้านเป็น แต่ออกแบบภายในไม่เป็น ถ้าเราไม่มี Connection เราอาจจะไม่มีที่ปรึกษาหรือคนที่เราไว้วางใจและสามารถส่งงาน Outsource ต่อไปได้ อาจจะเป็นผลทำให้ลูกค้าไม่เชื่อใจความสามารถที่ไม่ครบวงจร ก็เป็นได้”

Connection ของธุรกิจในวงการเดียวกันนั้นล้วนแล้วแต่มาจากการทำงานทั้งนั้นครับ!

การที่เราไม่มีประสบการณ์ หรือ การไม่มี Connection เชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นั้นเป็นจุดอ่อนของคนที่ทำงานมาได้ไม่มากเพียงพอ

ขอวกกลับมาที่ประเด็นของการประกอบธุรกิจส่วนตัว หากคุณกำลังจะเรียนจบและอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง!..  ดีเลยครับ อย่ารอช้าลองหางานให้ตรงสายกับธุรกิจที่อยากจะทำให้อนาคต สร้างProfile สร้างชื่อเสียง  สร้าง Connection ให้กับตัวเอง ก่อนที่จะถึงเวลาเหมาะสมออกไปประกอบธุรกิจของตัวเอง หรือแม้แต่การลาออกมาทำงาน Freelance ก็ตาม

 

  1. การรู้จักบริหารทีมงาน

อีกหนึ่งหลุมพรางที่เหล่าผู้ประกอบการมักจะตกม้าตายกับมากปัจจัยหนึ่งเลยครับคือ “การบริหารงานเป็นทีม”

เขาว่ากันว่า หนึ่งใน skill ที่ยากที่สุดในโลกธุรกิจ คือ การบริหารคน เราลองไปถามคนรอบๆตัวเราที่เขาทำธุรกิจมานักต่อนัก ผมมั่นใจว่าเกือบทุกคนจะบอกเสมอว่าการทำงานกับคนนั้นยากที่สุด

การทำเว็บไซต์ให้ดูดี, จัด Office ให้สวย, หรือ การจ้างพนักงานเพิ่มนั้นไม่ยากมากเท่ากับการ ทำให้คนนั้นๆรักองค์กรของเราและมีเป้าหมายเดียวกับเราไปนานๆ

ลองนึกดูครับว่า แต่ละคนเกิดมา ถูกเลี้ยงดูไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ไม่เท่ากัน มีความคิดที่แตกต่างกัน และ ความสามารถในการวิเคราะห์หรือควบคุมอารมณ์ตัวเองก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่คนอื่นเขาจะคิดดี ทุ่มเทกับงาน และอยากสละทุกอย่างเพื่อบริษัทของคุณเหมือนแบบที่คุณทำ

หัวใจสำคัญของผู้นำก็คือ ความสามารถในการดูแล วางแผนการทำงานของทีม เข้าใจ แก้ไขปัญหา และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกทีมได้

ในจุดนี้ผมคิดว่าผู้นำจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานพอสมควรเลยครับ ที่จะสามารถดูแลและคอยแก้ไขปัญหาให้กับลูกทีมได้

“หากทุกคนยังใหม่ ผู้นำก็พึ่งเรียนจบ ลูกทีมก็พึ่งเรียนจบ พอเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่เหมือนในตำรา หรือตอนฝึกงาน ก็อาจจะมืดแปดด้านกันได้เลยทีเดียว”

ถ้ามีคนถามว่า “งั้นต้องทำงานกี่ปีหละถึงจะออกมาทำงานของตัวเองได้”

ผมขอตอบว่า “ประมาณซัก 2ปีเป็นอย่างน้อย +/- จะมากกว่าหรือน้อยกว่า อยู่ที่ความพร้อมหลังจากเรียนรู้จากนั้นๆเลย และ ต้องเลือกบริษัทและตำแหน่งที่เราสามารถแสดงศักยภาพและเติบโต เพื่อมีทีมงานให้สามารถทดลองดูแลได้เร็วก็จะยิ่งดี”

 

  1. ระบบ Seniority (ระดับความอาวุโส) ในไทย

หากเรามีอายุ และประสบการณ์ทำงานที่มากขึ้นไปเรื่อยๆ จะเป็นการง่ายมากกว่าที่จะสร้าง Connection ที่มีคุณภาพใหม่ๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก

ประเทศไทยหรือประเทศในโซนเอเชียของเราส่วนใหญ่ยังอยู่กับ “การเคารพให้เกียรติผู้อาวุโส” ไม่เว้นแม้แต่กับโลกของธุรกิจ ซึ่งคนที่มีชื่อเสียงและอาวุโสในวงการธุรกิจก็จะได้รับการยอมรับมากกว่า

รวมไปถึงเรื่องสำคัญในการบริหารคนด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับชาติอื่นๆ คนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังยึดติดกับเรื่องของอายุของคนมากกว่าความสามารถ ซึ่งก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะเป็นวัฒนธรรมและเป็นสิ่งที่พ่อแม่ของเราสั่งสอนกันมาตลอด

ซึ่งข้อดีของเรื่องระบบ seniority น่าจะเป็นเรื่องการความอ่อนโยน ความเคารพ การให้เกียรติต่อบุคคลอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยได้รับฉายาว่า Land of Smile (เมืองแห่งรอยยิ้ม) ซึ่งพื้นฐานความคิดแบบนี้ ต่างชาติส่วนใหญ่อาจจะอิจฉาเรากันมากๆเลยด้วยซ้ำ

แต่ถ้าพูดถึงเรื่องงานหรือธุรกิจ ระบบSeniority ผมจะขอพูดถึงเรื่องเดียว คือการคุมทีมงาน ซึ่งถ้าเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ หรือทำงานได้เพียงไม่นาน อายุของเราก็อาจจะไม่มากพอนัก ที่จะไปสั่งพนักงานบางคนที่อาจจะมีความคิดในใจเช่นว่า “เราอายุมากกว่าคุณ คุณมาชี้สั่งเราแบบนั้นได้ยังไง?” ซึ่งปัญหาที่อาจจะตามมาได้นั้นก็อาจจะเป็นเรื่องของการลาออก แล้วเราต้องหาคนใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าคนใหม่จะเป็นแบบนี้อีกหรือปล่าวเลย

 

  1. การรู้จักบริหารเวลา

การได้ทำงานกับองค์กร และ มีหัวหน้าที่สามารถการตั้งเป้าหมาย ต่อวัน ต่อเดือนได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราได้ฝึกฝนความสามารถในการบริหารเวลาของเราได้ ในหลายๆด้าน

ซึ่งจะแตกต่างกับอาชีพ Freelance ที่จะต้องคอยควบคุมเวลาของตัวเอง อาจจะทำให้บางคนเสียการควบคุมเรื่องการเวลาการทำงาน อาจทำให้เราเป็นคนที่จัดการเวลาตัวเองได้ไม่เหมาะสมในโลกธุรกิจด้วยเช่นกัน

หรือแม้การทั่งการเป็นหัวหน้าคน เราจะต้องจัดการเวลาของทีมงานและงานที่สั่งไปด้วยเช่นกัน ถ้าเราไม่มีประสบการณ์เหล่านี้แล้ว อาจจะทำให้จัดการเวลาของคนทั้งทีมล้อเหลวก็เป็นได้

สำหรับธุรกิจแล้วเรื่องของ “เวลา” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างที่ผมได้กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า การทำธุรกิจที่ดีไม่ใช่การดำเนินกิจการไปเพียงคนเดียว แต่ยังมีอีกหลายคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง”

และหากพลาดในเรื่องของเวลา ทุกอย่างอาจจะพังลงเอาได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในเรื่องของเนื้องานเพียงอย่างเดียว แต่เวลายังเป็นในเรื่องของความเชื่อมั่นในตัวธุรกิจและตัวคุณเองอีกด้วย

ซึ่งจุดนี้ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบของ Freelance ก็ดี หรือจะเป็นผู้ประกอบก็ดี เรื่องของการบริหารเวลาให้ลงตัวคือหัวใจสำคัญมากเลยทีเดียว

 

  1. เงินทุน และ งบประมาณ

สำหรับข้อนี้ บางคนก็ไม่มีปัญหาเลยเนื่องจากมีเงินเก็บและทรัพทย์สินเยอะอยู่แล้ว หรืออาจจะมีพ่อแม่สนับสนุนเรื่องเงินมาโดยตลอด

แต่สำหรับหลายๆคน ข้อนี้น่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินต่อของธุรกิจก็เป็นได้

เงินทุนสำหรับการจ้างพนักงานที่เก่งๆมาร่วมงาน, ค่าเช่าออฟฟิส, พื้นที่ขายของ, ค่าใช้จ่ายในการ outsource, ค่าสต๊อคสินค้า, และอื่นๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องมีเงินเย็นเผื่อเหลือไว้อย่างน้อยๆ 3-6เดือน เพื่อความปลอดภัยมั่นคงต่อธุรกิจกันเลยทีเดียว

 

อย่างที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผมอาจจะยังไม่สนับสนุนให้เหล่านักศึกษาจบใหม่หรือเพิ่งได้เข้าทำงานที่ยังไม่ได้สั่งสมประสบการณ์งานจริงมามากเพียงพอ ลาออกมาทำธุรกิจของตัวเอง

เพียงแต่อยากจะให้แง่คิดว่า ในโลกของธุรกิจ มองดูจากตำรา หรือจากผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้วอาจจะสวยหรู แต่ในโลกของความจริงแล้ว โลกของธุรกิจเต็มไปด้วยหลุมพรางทั้งสิ้น

หากยังไม่พร้อม หากยังไม่มีประสบการณ์ก็จะติดกับดัก ตกหลุมพราง ล้มเหลวเอาได้ง่ายๆครับ

แต่ก็แน่นอน ถ้าคุณยืนยันว่ามีไฟ อยากทำธุรกิจนึงมากๆ และต้องทำตอนนี้เลย ก็ลองคำนวนโอกาสความเสี่ยง และวางแผนธุรกิจดีๆ ถ้าล้มแล้วต้องรีบลุกขึ้น และเดินต่อให้ได้

ยังไงก็ตาม ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับทุกอย่างที่จะทำนะครับ

 

ถ้าคุณคิดว่ามีเหตุผลข้ออื่นๆอีก Comment ใต้โพสนี้เลย?

ในปัจจุบันไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีสินค้าแบบเดียวกันเต็มไปหมด และสินค้าทั้งหมดมองดูเผินๆก็เหมือนกันไปหมด หาข้อแตกต่างกันได้อย่างมากเลยทีเดียว “ผมคิดว่าหากอยากเหนือกว่าคู่แข่ง ก็จะต้องสร้างความโดดเด่นให้เหนือกว่าคู่แข่งตั้งแต่ครั้งแรกที่ลูกค้ามองเห็น”

ใช่แล้วครับ ! การสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของคุณตั้งแต่แรกเห็นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ Brand Identity” หรือ “เอกลักษณ์ตราสินค้า  แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกของธุรกิจกันเลยนะครับ แต่กลับเป็นเรื่องเดิมที่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้น และหลายคนก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าทุกทีกับเรื่องของการสร้าง Brand ให้เกิดการจดจำ ความโดดเด่นเหนือคู่แข่งของสินค้าของคุณนั้นจะต้องเริ่มต้นมากจากการสร้าง “การรับรู้” (Perception)

 

การสร้าง “การรับรู้” ให้เกิดขึ้นกับสินค้าของคุณนั้น ไม่ได้แตกต่างไปกับการสร้างบุคลิกภาพให้ใครสักคนดูดีและเป็นที่จดจำในสายตาของคนอื่นรอบข้าง ในส่วนแรกที่ผมกำลังจะพูดถึงก็คือ การเริ่มต้นสร้าง Logo หรือตราสินค้า เพื่อให้เกิดการรับรู้ การออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) ที่มีเอกลักษณ์ “โดนใจ” กลุ่มเป้าหมายของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับสินค้า การเลือกใช้สี หรือการสื่อสารสร้างความหมายว่าสินค้าของคุณจะต้องมีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายอย่างแน่นอน ซึ่งในจุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นนะครับ

ในส่วนต่อมาผมจะขอลงลึกเข้าไปอีกในส่วนของรายละเอียดโครงสร้าง “เอกลักษณ์ตราสินค้า”  (Brand Identity) ว่าจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้างถึงจะสามารถสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณได้ ซึ่งที่แน่นอนคุณจะต้องตอบคำถามทั้ง 5 ของผมให้ได้เสียก่อน

  1. ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของคุณ
  2. คุณกำลังนำเสนอสินค้าอะไรให้พวกเขา
  3. จุดยืนของสินค้าของคุณคืออะไร
  4. สินค้าของคุณจะช่วยแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร
  5. คำสัญญาที่มีให้กลุ่มเป้าหมายคืออะไร

ที่ผมเลือกถามคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ไปก็เพราะ ผมต้องการให้คุณได้เข้าใจสินค้าของคุณเองก่อนว่าจริงๆแล้วคืออะไร เพื่อใคร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริงหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน “หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน คุณจะสามารถนำคำตอบเหล่านี้มาเป็นแนวทางของการสร้าง Brand identity หรือ เอกลักษณ์ให้กับสินค้าของคุณได้ไม่ยาก”

หลักจากนี้คุณเองก็จะต้องนำความเข้าใจที่มีในตัวสินค้าและ Brand ของคุณมาขยายความเพื่อสื่อสารให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างการรับรู้อย่างถูกต้อง 3 สิ่งที่จะช่วยให้ผู้คนจดจำแบรนด์สินค้าของคุณ คือ

  1. คำขวัญ หรือ สโลแกน

    • อยากให้ลองสังเกตและศึกษาจาก Brand ใหญ่หลายเจ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มักจะมีคำพูดติดปากไว้เสมอ ตัวอย่างใกล้ตัวอย่างของ “การบินไทย คือ การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า” หรือของ “Nike คือ Just do it” สโลแกนทั้งสองตัวอย่างสามารถสื่อสารความเป็นสินค้าและ Brand ได้อย่างดีมาก
    • อีกทั้งในส่วนของเรื่องคำขวัญนี้ยังเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ดีได้ด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างของเบียร์ช้าง คือ “เบียร์ช้างเบียร์ไทยเหรียญทองระดับโลก”
  2. สีสัน

    • สีสันเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะเข้าไปสร้างการจำจำและรับรู้ได้เป็นอันดับต้นๆ การเลือกใช้โทนสีและโลโก้ที่จะสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น บริษัทรับสร้างสระว่ายน้ำมักเลือกใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เพื่อหมายถึงน้ำ หรือ โรงพยาบาลมักเลือกใช้สีเขียว เพื่อหมายถึงสุขภาพที่ดี
    • การสร้าง Product Line ให้กับ Brand การสร้างโทนสี หรือการคลุมสินค้าทั้งหมดให้เป็นโทนเดียวกัน ก็จะสามารถสื่อสารให้กับลูกค้าได้ว่าสินค้าเหล่านี้มาจากผู้ผลิตเดียวกัน ในจุดนี้ผมคิดว่าจะเป็นผลดีมากกับ Brand ที่มีสินค้าประสบความสำเร็จมาแล้ว และปล่อยสินค้าชิ้นใหม่ลงสู่ตลาด
  3. การสื่อสาร

    • หากขาดในส่วนนี้ไปทั้งหมดที่คุณกำลังพยายามสร้าง ย่อมไม่เกิดผลแน่นอนครับ การนำสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะ โลโก้ สีสัน คำขวัญ ประโยชน์ และคำสัญญา ที่คุณมีให้กลุ่มลูกค้าของคุณ สื่อสารไปอย่างตรงจุด ตรงประเด็น สร้างความเข้าใจให้ได้ และสื่อสารไปแล้ว ต้องอย่าลืมตอกย้ำ ให้เกิดการจดจำบ่อยๆ ด้วยนะครับ
    • การสื่อสารที่ดีจะต้องมั่นใจว่า “สื่อสารไปตรงพื้นที่ที่กลุ่มลูกค้าอยู่” เพราะหากสื่อสารไปผิดพื้นที่ ทั้งหมดก็จะสูญเปล่าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังขาย รุ่นใหม่ล่าสุด แต่กลับเลือกโฆษณาบนหนังสือพิมพ์ ก็อาจจะสูญเปล่าได้

 

“การสร้างการรับรู้ใน Brand เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะที่คือการสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของคุณยืนอยู่เหนือคู่แข่งตั้งแต่ครั้งแรกที่กลุ่มลูกค้ามองเห็น โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องลองใช้สินค้าของคุณมาก่อน” ส่วนความสำเร็จในระยะยาว หรือการสร้าง Customer Loyalty นั้นก็จะต้องมากจากคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าของคุณอีกด้วย